นับได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคของ internet of things กันเข้าไปทุกที เพราะเท่าที่เห็นได้ชัดเลยก็จะเป็นการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบตัวของเราที่แทบจะเป็นออนไลน์ 100% ไปแล้ว ซึ่งอุปกรณ์แต่ละอย่างจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะกับการใช้งานโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่จำเป็นจะต้องมีอินเทอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อก่อนเราจะเห็นแอปพลิเคชันที่เปิดใช้งานแบบออฟไลน์กันค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าในปัจจุบันนี้แทบจะหาแอปพลิเคชันที่เป็นออฟไลน์ไม่ได้แล้ว เมื่อแอปพลิเคชันมีการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต แน่นอนว่าจะต้องมีเรื่องของความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วความเร็วของอินเทอร์เน็ตนั้นสำคัญอย่างไรกับการใช้งานแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน การทำงานที่รวดเร็วขึ้น โดยพื้นฐานแล้วความเร็วในการทำงานของแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในสมาร์ทโฟนจะมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัว hardware เป็นหลัก การใช้งานแอปพลิเคชันจะเร็วหรือไม่เร็ว การตอบสนองจะทันใจผู้ใช้งานหรือไม่จะขึ้นอยู่กับตัวอุปกรณ์ถ้า hardware ดี การใช้งานก็ดีตามไปด้วย แต่พอมาเป็นในยุคปัจจุบันรูปแบบการทำงานของแอปพลิเคชันมีการเปลี่ยนไปมากพอตัว เพราะหลายแอปพลิเคชันได้เปลี่ยนไปใช้การประมวลผล บันทึกและดึงข้อมูลมาจากอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ตัวแอปพลิเคชันในเครื่องเป็นเพียง UI แสดงผลเท่านั้น นั่นหมายความว่าถ้าอินเทอร์เน็ตเร็วการใช้งานก็จะเร็วตามไปด้วย พื้นที่ที่ลดลง ถ้าสมาร์ทโฟนยังคงใช้การประมวลผลหลักจากตัวอุปกรณ์อยู่ จะทำให้ผู้ใช้งานอย่างเราจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่สำหรับการโหลดแอปพลิเคชันมาไว้ในเครื่องเป็นจำนวนมาก เนื่องจากว่าข้อมูลทั้งหมดจะถูกใช้และดึงขึ้นมาด้วยระบบภายใน ทำให้ในหนึ่งแอปพลิเคชันจะต้องมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งกินเนื้อที่มากพอตัว แต่พออินเทอร์เน็ตของเราเร็วขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้นอีกต่อไป เพราะทุกอย่างสามารถดึงมาใช้และบันทึกกลับไปที่ server ผู้ให้บริการได้เลย ช่วยลดภาระของอุปกรณ์ไปได้เยอะมากเลยทีเดียว คุณภาพของมัลติมีเดีย เทคโนโลยีทางด้านสื่อและมัลติมีเดียของเราพัฒนาไปไกลมาก ส่งผลให้เราจำเป็นจะต้องใช้การถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดจำนวนมหาศาลมากยิ่งขึ้นจนเป็นเรื่องปกติที่เราจะชินกับการรับชมสื่อต่าง ๆ ในระดับความคมชัดแบบ […]

ตอนนี้จะว่าไปแล้วถ้าตอนนี้เรามองการใช้งานข้อมูลของคนในปัจจุบันจะพบว่าเรามีข้อมูลที่ถูกเก็บ ใช้งาน และรวบรวมอยู่เป็นจำนวนมาก และยิ่งจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ในการใช้งานระดับ user อาจไม่สามารถที่จะสำรองข้อมูลของตัวเองทั้งหมดไว้ในอุปกรณ์ IT อย่างสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว บวกกับความสามารถของอินเทอร์เน็ตที่สามารถรองรับความต้องการในการใช้งานได้มากกว่า จนเกิดมาเป็น cloud เทคโนโลยีที่ตอนนี้ได้เปลี่ยนชีวิตการทำงานในแบบออนไลน์ของเราไปเรียบร้อยแล้ว ในเครื่องไม่ต้องเก็บอะไรเลย สำหรับคนทำงานในปัจจุบัน ตอนนี้ถ้าใครที่เชี่ยวชาญในเรื่องการใช้งานระบบ cloud แทบจะเรียกได้ว่าในอุปกรณ์ IT ของคนคนนั้นจะไม่มีไฟล์อะไรเก็บไว้เลย นอกจากโปรแกรมที่เป็น software ที่ใช้ run ไฟล์งานนั้น ๆ เพราะทุกอย่างแทบจะถูกยกขึ้นไปฝากไว้ที่ระบบ cloud เจ้าต่าง ๆ ทำให้เราแทบจะไม่จำเป็นต้องซื้อ HDD หรือ SDD ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ ๆ เอาไว้สำหรับเก็บข้อมูลอีกต่อไปแล้ว ด้วยความรวดเร็วของระบบอินเทอร์เน็ตและการเข้าถึงการใช้งาน cloud ที่แสนจะสะดวก พื้นที่เพียงไม่กี่ GB ก็เพียงพอต่อการทำงานพื้นฐานของแอปพลิเคชันทั่วไป ทำงานร่วมกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ความสะดวกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจของเทคโนโลยี cloud ก็คือการใช้เพื่อทำงานร่วมกันกับคนอื่นในทีม ไม่ว่าจะเป็นการฝากไฟล์งานเอาไว้ในแอปพลิเคชัน […]

เมื่อมีการทำงานก็จะต้องมีการประชุม ซึ่ง ณ เวลาปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่าความนิยมในการประชุมรูปแบบเดิมที่เป็นการจองห้องประชุม เชิญทุกคนที่เกี่ยวข้องมานั่งคุยแบบพร้อมหน้าพร้อมตาได้เปลี่ยนไป กลายมาเป็นการประชุมในแบบออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชันต่าง ๆ กันมากขึ้น ซึ่งช่วยเราได้มากในเรื่องของความสะดวกที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าร่วมได้จากทุกที่ ผ่านการเชื่อมต่อออนไลน์ด้วยอินเทอร์เน็ต เมื่อเป็นรูปแบบการประชุมที่มีคนนิยมมาก ก็ย่อมที่จะมีแอปพลิเคชันออกมารองรับมากมายเช่นกัน แล้วแอปพลิเคชันแบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็น app ประชุมที่ดี อยากรู้ต้องมาดูกัน ระบบการเชื่อมต่อที่เสถียร แน่นอนว่าเมื่อเป็นการประชุมที่แต่ละคนจะต้องนำเสนอและออกความคิดเห็น หรือจะเป็นการแลกเปลี่ยนไอเดียการทำงาน สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การประชุมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันนั้นราบรื่นก็คือระบบการเชื่อมต่อที่เสถียรของผู้ให้บริการ เพราะเพียงแค่อินเทอร์เน็ตของ user แต่ละที่จะต้องมีความเร็วสูงแล้ว ในส่วนของ server การประชุมเองก็ต้องมีคุณภาพด้วยจึงจะสามารถช่วยให้การประชุมที่สำคัญนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ วิธีการเลือกก็คืออาจทดลองโหลดแอปพลิเคชันการประชุมมาใช้ดู app ไหนที่โอเคก็ list เอาไว้ก่อน ผู้เข้าร่วมหลายคน เรื่องของจำนวนผู้เข้าประชุมที่ดูเหมือนจะเป็นรายการที่ไม่สำคัญอะไรมากแต่อันที่จริงแล้วกลับสำคัญมากกว่าที่คิดไว้เสียอีก เพราะต่อให้แอปพลิเคชันมีระบบการเชื่อมต่อที่ดีมากแค่ไหนแต่ถ้ามีการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมก็เท่ากับว่าแอปพลิเคชันนั้น ๆ หมดประโยชน์ไปเลยก็ว่าได้ นั่นหมายความว่าก่อนการเลือกแอปพลิเคชันสำหรับการประชุมเราควรที่จะดูก่อนว่าในหนึ่งการประชุมของเรานั้นจำนวนคนมากที่สุดที่จะเข้าร่วมมีจำนวนเท่าไร หรือถ้ามีมากจริง ๆ ก็อาจจะเลือกเป็นการบันทึกการประชุมเอาไว้แล้วค่อยให้คนที่ไม่เกี่ยวมาดูภายหลังก็ได้ อย่างเช่นในการจัดสัมมนาออนไลน์ เป็นต้น Share หน้าจอและไฟล์งานได้ นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นข้อสำคัญที่สุดเลย เพราะในการประชุมนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการนำเสนอไฟล์งานต่าง ๆ และมีการแสดงหน้าจอเอกสารการประชุม slide หรือจะเป็นภาพนิ่งไปจนถึงมัลติมีเดีย […]